วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การรบที่กรุงเบอร์ลินในสงครามโลกครั้งที่ 2

การรบที่กรุงเบอร์ลินในสงครามโลกครั้งที่ 2

ประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2




การรบที่กรุงเบอร์ลิน

Battle of Berlin

จาก http://www.geocities.com/saniroj

โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

---------------------------------------





ทหารรัสเซียจากกรมปืนเล็กยาวที่ 756 (the 756th Rifle Regiment) กำลังปักธงชาติบนยอดตึกรัฐสภา Reichstag ภายหลังจากยึดนครเบอร์ลินได้ ทหารผู้กำลังปักธงคือ Nikhail Yegorov อีกสองคนจากซ้ายคือ Meliton Kantaria และ Alexi Berest ภาพนี้ถูกจัดขึ้นใหม่ในวันต่อมา เพื่อการถ่ายภาพภายหลังการปักธงจริงโดยบุคคลทั้งสาม




ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 20 เมษายน 1945 ซึ่งเป็นวันเกิดของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ขณะที่มีผู้โต้แย้งว่า ภาพนี้ถ่ายเมื่อ 20 มีนาคม 1945 - เนื่องจากภาพได้ถูกเผยแพร่ทางภาพยนตร์ข่าว (Die Deutsche Wochenschau) เป็นครั้งแรกในวันที่ 22 มีนาคม 1945 - ข้อสรุปเกี่ยวกับวันที่ถูกต้องยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่)

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์กำลังมอบเหรียญกล้าหาญกางเขนให้กับยุวชนฮิตเลอร์ ซึ่งเชื่อว่าคือ Alfred Czech ภายนอกบังเกอร์ของเขาในกรุงเบอร์ลิน ยุวชนฮิตเลอร์เหล่านี้เป็นส่วนของกองกำลัง Volkssturm อันเป็นกองกำลังรักษากรุงเบอร์ลิน ที่เกณฑ์มาจากคนชราและเด็ก Volksturm ได้รับการติดอาวุธที่ดีเยี่ยม โดยเฉพาะอาวุธต่อสู้รถถัง Panzerfaust และ Panzerschreck ที่สร้างความเสียหายให้กับรถถังของรัสเซียเป็นอย่างมาก




สภาพนครเบอร์ลินระหว่างการรบ





ยอดผู้เสียชีวิตทั้งของเยอรมันและรัสเซียมีสูงมาก เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่ต้องการจับเชลย ซึ่งทำให้เกิดภาระในการสู้รบที่ยืดเยื้อ ติดพัน




ทหารรัสเซียกับเครื่องยิงจรวดคัตยูช่า (Katyusha) ที่มีส่วนอย่างมากในการทำลายแนวตั้งรับของเยอรมันในกรุงเบอร์ลิน




ภายหลังสงครามสงบลง สตรีชาวเยอรมันกว่า 100,000 คน ถูกข่มขืน และละเมิดสิทธิมนุษยชน ในภาพทหารรัสเซียกำลังแย่งชิงรถจักรยานจากสตรีชาวเยอรมัน





การรบที่เบอร์ลิน

การรบที่เบอร์ลิน เป็นการสู้รบครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายในสงครามโลกครั้งที่สอง ในสมรภูมิยุโรป การรบเริ่มต้นตั้งแต่ 16 มกราคม 1945 เมื่อกองทัพรัสเซียสามารถรุกผ่านแนวตั้งรับของกองทัพเยอรมันที่ วิสทูราและโอเดอร์ (Vistula - oder) มาได้

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ตัดสินใจบัญชาการรบอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน ในขณะที่ผ่ายเสนาธิการของเขา ต้องการให้เขาย้ายไปอยู่ที่กองบัญชาการของเขา ในปรัสเซียตะวันออก

ทางฝ่ายสหรัฐอเมริกา นายพลดไวท์ ดี ไอเซนฮาวว์ (Dwight D. Eisenhower) ไม่มีความต้องการที่จะยึดกรุงเบอร์ลิน ร่วมกับรัสเซีย เพราะตระหนักดีว่า การรบที่เบอร์ลินจะต้องนองเลือด ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เลือดของชาวอเมริกัน ปูทางเข้าสู่นครหลวงของอาณาจักรไรซ์ที่ 3 หรือ เบอร์ลินแต่อย่างใด

อีกทั้งไอเซนฮาวว์ยังกังวล ถึงการปะทะกันเอง จะโดยอุบัติเหตุ หรือ โดยความตั้งใจก็ตาม ระหว่างฝ่ายอเมริกัน และฝ่ายรัสเซีย ในการยึดครองกรุงเบอร์ลินอีกด้วย ดังนั้นเมื่อสหรัฐอเมริกาไม่ร่วมการยึดเบอร์ลิน รัสเซียก็เปิดฉากการรุกโดยลำพัง โดยใช้กำลังมหาศาล ประกอบด้วยทหารราบ 2,500,000 คน รถถัง 6,250 คัน อากาศยาน 7,500 ลำ

จากนั้นกองทัพรัสเซียก็รุกมาทางตะวันตกด้วยความเร็ว วันละ 30 - 40 กิโลเมตร ผ่านปรัสเซียตะวันออก (East Prussia) ปอมเมราเนียตะวันออก (East Pomerania) และหยุดการรุกลงชั่วคราว เมื่ออยู่ห่างจากกรุงเบอร์ลิน 60 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออก ตามแนวแม่น้ำโอเดอร์ (Oder river)

20 มีนาคม 1945 การรบรอบๆ ชานเมืองเบอร์ลินก็เปิดฉากขึ้น





จรวดหลายลำกล้อง คัตยูช่า (Katyusha) ขนาด 132 มม. BM - 13 N ของกองทัพรัสเซีย ติดตั้งบนรถบรรทุกที่สหรัฐอเมริกา ให้รัสเซียยืมใช้ ตามโครงการ Lend - Lease กำลังระดมยิงใส่กรุงเบอร์ลิน ในเดือนเมษายน 1945 จรวดชุดนี้ ระยะยิง 5,500 เมตร

ประมาณกันว่าตลอดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัสเซียผลิตเครื่องยิงจรวดคัตยูช่า เป็นจำนวนกว่า 10,000 ชุด และถูกนำมาใช้หลังสงครามโลกสิ้นสุดลง เช่น ในสงคราม 6 วัน ระหว่างอิสราเอลและกลุ่มชาติอาหรับ




จรวดคัตยูช่า ผลิตขึ้นครั้งแรกในปี 1939 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้จะขาดความแม่นยำ แต่การยิงจรวดขนาด 132 มม. หลายลูกออกไปพร้อมๆ กัน ก็สามารถสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เป้าหมายได้มากพอสมควร รวมทั้งการยิงเป็นจำนวนมาก ดังในภาพ เป็นการยิงในระดับกองพัน จะเป็นการข่มขวัญข้าศึกได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งเสียงหวีดหวิวของจรวด การระเบิดที่ติดต่อกันเหมือนไม่มีสิ้นสุด และการปูพรมลงพื้นที่เป้าหมาย

ทหารเยอรมันขนานนามจรวดชนิดนี้ว่า สตาลินออร์แกน (stalin's pipe organ) และเพื่อเป็นการแก้แค้น เมื่อใดที่ทหารเยอรมันจับกุมพลยิงจรวดคัตยูช่าของรัสเซียได้ เชลยเหล่านั้นจะถูกสังหารทันที







อาวุธต่อสู้รถถัง Panzerfaust ของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นอาวุธที่มีอานุภาพในการทำลายยานเกราะ หรือสิ่งก่อสร้าง ราคาถูก ผลิตง่าย สามารถใช้งานได้ด้วยกำลังพลเพียงคนเดียว

ในการรบที่เบอร์ลิน ทหารเยอรมันได้ใช้ Panzerfaust ในการต่อสู้กับยานเกราะรัสเซียอย่างมีประสิทธภาพ ภาพบน คือกำลังพลของ Volkssturm ที่ป้องกันกรุงเบอร์ลิน ซึ่งจัดจากผู้สูงอายุ กำลังศึกษาการใช้ Panzerfaust






อาวุธที่ฝ่ายเยอรมันนำมาใช้ในการป้องกันเบอร์ลิน นอกจากเครื่องยิงลูกระเบิด Panzerfaust แล้ว ยังมี Panzer schreck ซึ่งเลียนแบบมาจากปืนบาซูก้าของสหรัฐอเมริกา ภาพบนคือตัวเครื่องยิง ติดเกราะกันกระสุนให้พลยิง ภาพถัดลงมาคือลูกกระสุน อาวุธชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูง เมื่อใช้ในการตั้งรับ สามารถทำลายรถถังของรัสเซียที่รุกเข้าสู่นครเบอร์ลินได้เป็นจำนวนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นในบล๊อกเรา

แอดมินสมาย

แอดมินสมาย
เยี่ยมเว็บเรา