วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดี เดย์


ภาพวีดีโอฝ่ายสัมพันธมิตรบุกฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ 1944

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ภาพร้านสมายอินเตอร์เน็ต

ภาพลูกชาย น้องบอล
ด.ช.พงษธร   จวงอินทร์






ภาพเว็บไซท์ของเราครับ

หน้าแรก

 vBulletin  เวอร์ชั่น  4



หน้าเว็บบอร์ด-กระดานข่าวสาร


หน้าห้องแซท - ฟังเพลงขอเพลง



พินิจ   ฤทธิ์กำลัง  ผู้ออกแบบเว็บไซท์สมายเรดิโอ 2011
อีเมล  jo2510_ttf@hotmail.co.th




วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์
 

พื้นที่:41,300 ตารางกิโลเมตร
ประชากร:7.4 ล้าน (ร้อยละ 20 เป็นชาวต่างชาติ)
GDP:CHF 433.36 ล้าน
GDP ต่อหัว: CHF 58,816
ภาษาประจำชาติ: เยอรมัน (ร้อยละ 63.7) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 20.4) อิตาเลียน (ร้อยละ 6.5) โรมานช์ (ร้อยละ 0.5)
 โรมัน คาธอลิก (ร้อยละ 41.8 เมื่อปี 2000) โปรแตสแตนท์ (ร้อยละ 35.3) มุสลิม (311,000) ยิว (17,900) ไม่มีศาสนา (ร้อยละ15.4)


ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความเป็นมาแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านในยุโรปโดยทั่วไป ทั้งนี้ เนื่องจากตั้งแต่ศตวรรษที่14 ไม่ มีผู้ปกครองใดสามารถขยายดินแดนมากไปกว่าเขตการปกครองเล็กๆ ที่ประกอบด้วยกลุ่มชนที่ร่ำรวยและมีการจัดระบบเป็นอย่างดี ในช่วงระหว่างปี 1315 และ 1388 กลุ่มชนดังกล่าวได้รับความเสียหายจากความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับต่อกองทัพของดยุคแห่งออสเตรีย ทำให้ส่วนหนึ่งเข้าร่วมกับสมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation) ด้วยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ทำให้ต้องอยู่ท่ามกลางการต่อสู้เพื่ออำนาจที่ไม่ สิ้นสุดในช่วงเวลานั้น และมีอิทธิพลที่ได้รับการหนุนด้วยกิตติศัพท์อันน่าเกรงขามของกองกำลังทหาร แห่งสมาพันธรัฐ ซึ่งอาจถือว่ามีกำลังมากที่สุดในยุโรป ณ สิ้นศตวรรษที่ 15
การปฏิรูปนำไปสู่การแบ่งแยกในสังคมสวิสระหว่างผู้ติดตามนักปฏิรูป สวิงกลิ (ต่อมาชื่อว่า เควิน) และกลุ่มคาธอลิก ความขัดแย้งอันขมขื่นทำให้อิทธิพลของสวิสในยุโรปลดลงไปอย่างมาก และโชคดีที่สมาพันธรัฐยังคงรอดพ้นจากความพ่ายแพ้อีกหลายต่อหลายครั้ง อิสรภาพของสวิสจากอาณาจักรโรมันเป็นหนึ่งในผลของสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟา เลีย (Peace of Westphalia) (1648) ที่ยุติสงครามสามสิบปี ซึ่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ในอีก 100 ปี ต่อมา มีความก้าวหน้าน้อยมากในความพยายามการจัดตั้งสหภาพของชาวสวิสและความขัดแย้ง ทางศาสนายังคงมีต่อไป จนกระทั่งภายหลังสงครามวิลล์เมอร์เกนครั้งที่สอง(The Second Villmergen War) ในปี 1712 ที่โปรแตสแตนท์เข้ามาปกครองสวิตเซอร์แลนด์
เหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศสและอาณาจักรนโปเลียนนำไปสู่ยุคแห่งความสับสน ส่วนใหญ่ของประเทศถูกยึดครองโดยฝรั่งเศส และได้อิสรภาพกลับคืนมาในการประชุมแห่งเวียนนา (The Congress of Vienna) ในปี 1815 (ซึ่ง ได้วางหลักการความเป็นกลางตลอดไปของสวิตเซอร์แลนด์ด้วย) แต่นโยบายอดกลั้นของชาวสวิสและการขาดอำนาจศูนย์กลางยังคงสวนทางกับความเป็น เอกภาพทางการเมืองและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 ที่รัฐบาลสหพันธรัฐเริ่มได้ผลอย่างแท้จริง แม้ว่าชาวสวิสจะยังคงนิยมการมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางจนถึงทุกวันนี้
การเมืองภายในประเทศตั้งแต่ปี 1945 อยู่ภายใต้พรรคการเมือง 4 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม (Social Democrats)พรรคประชาธิปไตยสุดโต่ง (Radical Democrats) พรรคประชาชนสวิส (Swiss Peoples Party) และพรรคประชาธิปไตยคริสเตียน(Christian Democratic Peoples Party) ที่ปกครองประเทศในลักษณะรัฐบาลผสมในหลายองค์ประกอบมาโดยตลอด การเลือกตั้งทั่วไปในเดือนตุลาคม 1999 มีความโดดเด่นในการที่พรรคประชาชนสวิส (SVP) ได้เสียงข้างมาก ทำให้นโยบายรัฐบาลเปลี่ยนไปในลักษณะอนุรักษ์นิยมอย่างชัดเจนในช่วงทศวรรษที่ 1990 และ ได้สร้างฐานเสียงโดยการใช้ประโยชน์จากความกลัวเกี่ยวกับปริมาณผู้อพยพต่าง ชาติที่เข้ามาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่มีพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง กลยุทธ์ดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จและพรรค SVP ได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากการสำรวจความคิดเห็นล่าสุดในเดือนตุลาคม 2003 โดยได้คะแนนเสียงเกือบร้อยละ 28 จากคะแนนเสียงทั้งหมด
คำถามระยะยาวที่สำคัญในการเมืองของสวิสได้แก่ ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 50 ใน การค้าของสวิตเซอร์แลนด์ ข้อกังวลหลักได้แก่ อำนาจของชาวสวิสที่มีแนวโน้มลดลง (ประเด็นสำคัญของระบบการเมืองสวิส) ระดับการอพยพเข้าเมือง และการสูญเสียความเป็นกลางอันเป็นที่หวงแหนของประเทศ นอกจากนี้ การแบ่งแยกอันเนื่องมาจากผลของประชามติในการเข้าเป็นสมาชิกในเขตเศรษฐกิจ ยุโรปปรากฏชัดเจน ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่าง EU และ EFTA (ซึ่งสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศสมาชิก) ที่เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม1992 ฝ่าย ค้านต่อข้อตกลงดังกล่าวชนะไปอย่างฉิวเฉียด ในท่ามกลางประชาชน มีการแบ่งอย่างหยาบตามอายุ ประชาชนอายุไม่มากนักมีแนวโน้มสนับสนุนความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับยุโรป ในขณะที่ประชาชนอาวุโสให้ความสำคัญกับความเป็นกลาง ด้วยความเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องของสวิตเซอร์แลนด์ แทบจะไม่มีข้อโต้แย้งทางเศรษฐกิจปรากฏ อย่างไรก็ตาม มีการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในแวดวงการเงินว่าเงินยูโรจะกลายเป็นหน่วยมาตรฐานในการพาณิชย์ใน อนาคตอันใกล้ ในปี 2001 สองปีนับจากการเริ่มใช้เงินสกุลยูโร ประชาชนชาวสวิสลงคะแนนเสียงอีกครั้งในมติขยายความเชื่อมโยงกับ EU ในขณะที่มีการรับรองจากพรรคการเมืองใหญ่ว่าจะไม่สนับสนุนการเข้าร่วมกับEU อย่างแท้จริง ซึ่งดูเหมือนจะยุติข้อโต้เถียงไปได้ในระยะนี้
ปีต่อมาชื่อเสียงด้านความลับในกิจการธนาคารของสวิตเซอร์แลนด์ถูกนำมาพิจารณาจากทั้ง EU และ สหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการปราบปรามการฟอกเงินและการหลีกเลี่ยงภาษีขนาด ใหญ่ทั่วโลก และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ชาวสวิสพบว่าตนเองแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ระหว่างกลุ่มที่ยังรักษาประเพณีการรักษาความลับและการเป็นพลเมืองที่ดีของโลก

สุดท้ายก็ต้องรับโทษจะหนีไปที่ไหน



ศาลเมืองคุนหมิง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ตัดสินประหารชีวิตนายหน่อคำ พ่อค้ายาเสพติดชาวพม่า และพวก 3 คน ในคดีสังหารลูกเรือจีน 13 คนในแม่น้ำโขง เมื่อเดือน ต.ค.ปีก่อน

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ศาลประชาชนเมืองคุนหมิงได้พิพากษาโทษของนายหน่อคำ วัย 40 ปีเศษ ซึ่งถูกทางการลาวจับกุมและเนรเทศไปจีนเมื่อเดือนพฤษภาคม โดยตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาสังหารลูกเรือจีน 13 คน ในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ เป็นจุดบรรจบของชายแดนไทย ลาว พม่า และขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งค้ายาเสพติดสำคัญ

ศาลตัดสินประหารชีวิตนายหน่อคำและพวก 3 คน ส่วนผู้ต้องหาคนที่ 5 ถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ให้รอการลงอาญาไว้ก่อน และผู้ต้องหาคนที่ 6 ถูกตัดสินจำคุก 8 ปี

ผู้ต้องหาทั้ง 6 คน ถูกตั้งข้อหาเจตนาฆ่า ค้ายาเสพติด ลักพาตัว และปล้นเรือ นายหน่อคำรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นกลางเมืองคุนหมิง ระหว่างการไต่สวน 2 วัน เมื่อเดือน ก.ย. และได้แสดงความสำนึกผิดต่อเหยื่อและครอบครัว

ลูกเรือจีนทั้ง 13 คนได้โดยสารมากับเรือสินค้า 2 ลำ ทั้งหมดถูกฆ่า หลังจากเรือถูกจี้เมื่อเดือนตุลาคมโดยนายหน่อคำและพวก ซึ่งมีฐานกำลังใหญ่ในรัฐฉานของพม่า รายงานระบุว่า หนึ่งในผู้ต้องหาเป็นชาวไทย ขณะที่อีก 4 รายยังไม่ทราบแน่ชัด

ข่าวเด่นในบล๊อกเรา

แอดมินสมาย

แอดมินสมาย
เยี่ยมเว็บเรา